การเลือกซื้อเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าสักอย่าง สิ่งที่เราควรคำนึงถึงจะต้องประกอบด้วยหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น ลักษณะของงานที่ต้องการวัด (ค่าที่ต้องการวัด), ความสะดวกในการใช้งานและลักษณะการติดตั้ง, ช่วงการวัด, ความละเอียดและความแม่นยำของเครื่องวัด, สภาพแวดล้อมของบริเวณที่ใช้งาน, มาตรฐานรับรองคุณภาพและที่สำคัญมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดต่อผู้ใช้งาน ซึ่งในบางครั้งผู้ใช้งานอาจจะเป็นแนวทางให้ผู้ใช้ได้ใช้สำหรับพิจารณาการเลือกซื้อเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับงานจริง เพื่อความประหยัดและเพื่อการใช้งานเครื่องมือวัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ลักษณะของงานที่ต้องการวัด (ค่าที่ต้องการวัด)
คือ การระบุค่าหรือสิ่งที่ต้องการวัด เช่น แรงดัน, กระแส, อุณหภูมิ, ความต้านทาน, ความถี่ ฯลฯ หลังจากนั้นก็ดูรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการวัดนั้นต่อไปว่าต้องการแบบอนาล็อกหรือดิจิตอลและจำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมอีกหรือไม่ เช่น เอาต์พุต, การตั้งค่าการแสดงผล, การบันทึกค่าสูงสุด/ต่ำสุด, การรับอินพุตเป็นแบบตรงหรือต้องผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น วัดกระแสไฟสลับ อาจต้องใช้ CT (Current Transformer) เป็นอุปกรณ์ต่อร่วม, วัดอุณหภูมิอาจต้องใช้เทอร์มอคัปเปิลในการรับอุณหภูมิซึ่งก็ควรจะคำนึงถึงชนิดและรูปร่างของเทอร์มอคัปเปิลด้วย เพื่อลดค่าความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการวัดเพราะในงานแต่ละงานความเหมาะสมของเทอร์มอคัปเปิลก้อแตกต่างกันออกไปด้วย
ความสะดวกในการใช้งานและลักษณะการติดตั้งเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า
ความเหมาะสมของประเภทการใช้งาน เช่น ต้องการมิเตอร์ที่วัดค่าต่างๆ เพื่อใช้ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในแต่ละที่ที่อยู่ไกลกัน หรือวัดค่าที่ไม่จำเป็นต้องดูค่าตลอดเวลา ก็อาจเลือกมิเตอร์ที่เป็นแบบพกพา เพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่ในบางงานเป็นงานที่ต้องการดูค่าตลอดเวลาเพื่อใช้ในการควบคุมหรือการจดบันทึก ก็ควรจะใช้มิเตอร์ที่ติดตั้งอยู่กับที่หรือติดตั้งที่แผงควบคุมที่เราเรียกว่า Panel Meter ในส่วนของงานวัดอุณหภูมิก็มีให้เลือกทั้งแบบสัมผัสและไม่สัมผัสกับวัตถุ ซึ่งการเลือกใช้เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้, ความสะดวกในการติดตั้งหรือความปลอดภัยของผู้ใช้ เช่น วัดบนผิวชิ้นงานธรรมดาก็อาจใช้หัววัดแบบสัมผัสกับชิ้นโดยตรง แต่ในบางงาน เช่น การวัดอุณหภูมิของหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงก็ควรใช้เทอร์มอมิเตอร์แบบอินฟราเรดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เป็นต้น